Skip to main content

สำนักงานแรงงาน จังหวัดปทุมธานี

ประวัติความเป็นมา

            

เดิมชื่อสำนักงานแรงงานและสวัสดิการสังคมจังหวัด ซึ่งเป็นหน่วยงานราชการส่วนภูมิภาคอยู่ในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงแรงงานที่จัดตั้งขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ ๗ ธันวาคม ๒๕๓๖ โดยจัดตั้งขึ้นตั้งแต่วันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๓๗ เป็นต้นมา แต่หลังจากมีพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.๒๕๔๕ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๓ ตุลาคม ๒๕๔๕เป็นต้นมา จึงเป็นผลให้มีการเปลี่ยนชื่อกระทรวงเป็น “กระทรวงแรงงาน” และสำนักงานแรงงานและสวัสดิการสังคมจังหวัด ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็นสำนักงานแรงงานจังหวัด ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

การแบ่งส่วนราชการ กระทรวงแรงงานแบ่งสวนราชการเป็น ๖ ส่วน คือ

๑. สำนักงานรัฐมนตรี มีภารกิจเกี่ยวกับราชการทางการเมือง เพื่อสนับสนุน ภารกิจของรัฐมนตรี ประสานนโยบาย ระหว่างกระทรวง

๒. สำนักงานปลัดกระทรวงแรงงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนายุทธศาสตร์ แปลงนโยบาย ของกระทรวงเป็นแผนปฏิบัติ จัดสรรทรัพยากรและบริหารราชการประจำทั่วไปของกระทรวง เพื่อการบรรลุเป้าหมายและเกิดผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจของกระทรวง

๓. กรมการจัดหางาน มีภารกิจเกี่ยวกับการส่งเสริมการมีงานทำและคุ้มครองคนหางาน โดยการศึกษา วิเคราะห์สภาวะตลาดแรงงาน และแนวโน้มตลาดแรงงานเป็นศูนย์กลางข้อมูล ตลาดแรงงาน รวมทั้งพัฒนาและส่งเสริมระบบการบริหารด้านการส่งเสริม การมีงานทำเพื่อให้ ประชาชนมีงานทำที่เหมาะสมกับความรู้ ความสามารถและความถนัด ไม่ถูกหลอกลวง ตลอดจนได้รับสิทธิประโยชน์ที่เหมาะสมและเป็นธรรม

๔. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดมาตรฐานแรงงาน การคุ้มครองแรงงาน ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน การแรงงานสัมพันธ์ การแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ และการสวัสดิการแรงงาน โดยการพัฒนา มาตรฐาน รูปแบบ กลไก มาตรการ ส่งเสริม สนับสนุนและแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มโอกาสในการแข่งขันทางการค้าและพัฒนาแรงงานให้มี คุณภาพชีวิตที่ดีในการ ดำเนินภารกิจ

๕. กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน มีภารกิจเกี่ยวกับการพัฒนาฝีมือแรงงาน ศักยภาพ กำลังแรงงาน และผู้ประกอบการเพื่อพัฒนากำลัง แรงงานให้มีฝีมือมาตรฐานในระดับสากล และส่งเสริมการเป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก

๖. สำนักงานประกันสังคม มีภารกิจเกี่ยวกับการบริหารการประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน โดยการจัดการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้แรงงานมีหลักประกันการดำรงชีวิตที่มั่นคง

672
TOP